วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

  ลัษณะวิสัยไม้เลื้อย 





                                                                          ลำต้น
ดอก

ผล

เมล็ด
  ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Coccinia grandis (L.) Voigt
   
  ชื่อสามัญ           Ivy Gourd
 
   วงศ์ :                  Cucurbitaceae
 
   ชื่ออื่น                ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเด๊าะ (กระเหรี่ยงและแม่ฮองสอน) ตำลึง,สี่บาท (ภาคกลาง) ผักตำนิน (ภาคอีสาน)

ลักษณะ

ลำต้นเป็นเถาล้มลุกเนื้อแข็งใบป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็น 3 แฉก หรือ 5 แฉก กว้างและยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตรโคนใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ มีมือเกาะยื่นออกมาจากที่ข้อ ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ มีลักษณะเป็นรูปรัฆังกลีบดอกสีขาว แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกออกตรงที่ซอกใบ ลักษณะของผลเป็นวงรีทรงยาวสีเขียวอ่อน เมื่อยามแก่จัดจะเป็นสีแดง เป็นที่ชื่นชอบของนกนานาชนิด

ลักษณะวิสัยพืช  

 ตำลึง เป็นไม้เถาล้มลุกมีอายุอยู่ได้หลายปี  เมื่ออายุมากเถาจะใหญ่และแข็งแรงมากขึ้น  เถามีสีเขียวใบไม้  ตามข้อจะมีมือเกาะ  ใบออกสลับกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกสีขาวข้างในมีสีเหลืองอ่อน  มีผลคล้ายกับผลแตงกวา  แต่มีขนาดเล็กกว่า มาก  ผลของตำลึงเมื่อดิบจะเป็นสีเขียว ใบไม้มีลายสีขาวอยู่ด้วย  พอสุกเต็มที่ก็จะมีสีแดงสด  ตำลึงปลูกได้เป็นผักที่ดีมาก  ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่โดยทั่วไปตามธรรมชาติ  โดยเฉพาะในชนบทหรือตามที่รก  ป่าละเมาะ  ริมทาง

การเพาะพันธุ์


  • ใช้เมล็ดจากผลแก่หยอดลงในหลุม ปลูกได้ดีในดินร่วนซุย หลังจากที่ต้นกล้างอกก็ให้หาไม้มาปลักเพื่อให้ต้นตำลึงใช้เลื่อย
  • นำเถาแก่มาตัดให้ได้ขนาด 4-6 นิ้ว ปักลงในถุงเพาะชำ หลังจากรากและใบงอกแล้วก็นำไปปลูกลงหลุม

สารเคมี

ในตำลึงมีสารเอนไซม์ไมเลส ช่วยในการย่อยแป้ง และในตำลึงก็มีสารอาหารชื่อว่าบีตา-แคโรทีน

ประโยชน์


สรรพคุณทางยา


  • ใบใช้ในการแก้ไข้ตัวร้อน ตาแดง ตาเจ็บ
  • เถานำน้ำต้มจากเถาตำลึงมาหยอดตาแก้ตาแดง ตาฟาง
  • ดอกตำลึงช่วยทำให้หายจากอาการคันได้
  • รากใช้แก้อาการอาเจียน ตาฝ้า
  • น้ำยางจากต้นและใบช่วยลดน้ำตาลในเลือด

ประกอบอาหาร


  • สามารถนำใบตำลึงมาต้มกับน้ำแกงใส่กับหมูสับ นำใบตำลึงมาผัดผักรวม หรือ นำไปประกอบอาหารอย่างอื่นก็ได้เหมือนกัน

อ้างอิง


QR Code 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น